โชว์...ห่วย ยินดีต้อนรับ นะจ๊ะนายจ๋า

สวัสดีจ้า นายจ๋า...อีนี่ชื่อปกรณ์ เรียกสั้นๆว่าอีนี่บิว ยินดีต้อนรับนายจ๋าทุกคน อินี่ทำเว็ปไซต์ โชว์...ห่วย ที่นี่มีอะไรที่ย้อนยุค คลาสสิค และหายาก เข้ามาดูก่อนน่ะจ๊ะนาย



วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ของเล่น...เก่าๆ

พอจะเดาได้ไม่ยากว่า คุณคงจะพบ เครื่องเล่นเกมเพลย์ สเตชั่น, เครื่องคอมพิวเตอร์, เกมบอย, แผ่นเกมส์นานาชนิด ถ้าลดหลั่นลงมาถึงน้องๆ หนูๆ หน่อยก็คงจะพบตัวต่อเลโก้, รถบังคับวิทยุ, ตุ๊กตาสุดไฮเทค และของเล่นล้ำยุคอีกมากมายที่คุณพ่อคุณแม่เห็นคงต้องร้องอุทานพร้อมกันออกมาว่า “ พระเจ้าจอร์ช นี่มันอะไรกันเนี่ย ของเล่นรุ่นฉันยังสนุกและเพิ่มความรู้กว่านี้ตั้งแยะ ไฟ เฟยก็ไม่ต้องใช้ แถมทำเองก็ได้ ง่ายนิดเดียว”

ใช่ครับ หากบางครั้งคุณเคยคิดว่า การเล่นเกมทีวีมากไปอาจทำให้สายตาเสีย หรือการบังคับแต่รถวิทยุอาจจะไม่ช่วยให้ได้ความรู้มากขึ้น หรือสุดท้ายอาจจะเบื่อของเล่นเก่าๆ ที่เคยมีอยู่แล้ว นี่เป็นทางออกที่ดีที่สุด แถมคุณยังสนุกกับคนในครอบครัวได้ทุกเพศทุกวัยด้วย เพราะอย่างน้อย...คุณพ่อคุณแม่ หรือว่าจะไปคุณน้า คุณลุง คุณป้า คุณทวด คงได้สนุกกับการระลึกถึงความทรงจำในวัยเยาว์ไปพร้อมๆ กับของเล่นประดิษฐ์ที่คุณผู้อ่านลงมือทำเอง

แน่นอนครับ จะมีสิ่งไหนที่จะช่วยรื้อลิ้นชักความทรงจำคนรุ่นเก่าได้ดีเท่ากับ ของเล่นทำมืออันทรงคุณค่า ประเทืองปัญญาให้เด็กรุ่นก่อน ของเล่นบางชิ้นอาจจะไม่เคยผ่านตาคุณผู้อ่านมาก่อน แต่เมื่อคุณผู้อ่านได้ลองทำตามและสัมผัสกับการเล่นของพวกมันแล้ว รับรองได้เลยว่า คุณผู้อ่านจะต้องทึ่งและสนุกไปกับของเล่นในอดีตดังที่จะมีให้ลองทำตามนี้ก็เป็นได้

เช่น ไก่กระป๋อง ไก่กระป๋องที่ว่านี้ไม่ใช่ไก่อัดกระป๋องแน่ๆ แต่มันคือของเล่นทำง่ายๆ ที่แฝงความรู้นิดๆไว้ด้วย เริ่มต้นโดยการเดินเข้าไปในห้องครัว หากระป๋องนมข้นเปล่าๆ หนึ่งกระป๋อง ล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นเดินไปเปิดกล่องอุปกรณ์ หยิบเชือกป่านมาหนึ่งเส้น ความยาวพอประมาณแขนของคุณ เตรียมค้อน ตะปู และพระเอกสำหรับของเล่นชิ้นนี้ ได้แก่ผ้าชุบน้ำหมาดๆ อีกหนึ่งผืนนั่นเอง เมื่ออุปกรณ์เครื่องมือครบแล้ว เราก็เริ่มลงมือทำโดยการนำกระป๋องนมมาเปิดฝาด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านเจาะรูตรงกลางฝากระป๋องด้วยตะปูและค้อนเป็นรูเล็กๆ พอให้ร้อยเชือกเข้าไปได้ จากนั้นนำเชือกป่านมาร้อยเข้าไปในรู ผูกปมด้านในกระป๋องเพื่อให้เชือกไม่หลุดออกจากกระป๋อง เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่พบอยู่ด้านหน้าของคุณนั่นคือ “ ไก่กระป๋อง” นั่นเอง ใช่ครับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ไก่กระป๋อง สงสัยอยู่ใช่ไหมครับว่า ตรงไหนที่เรียกว่า ไก่กระป๋อง แน่นอนครับ ไก่กระป๋องที่สมบูรณ์แบบนั้นต้องมี “ พระเอก” ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านั่นคือ ผ้าชุบน้ำหมาดๆนั่นเอง วิธีการเล่นง่ายๆ เพียงใช้มือข้างหนึ่งจับกระป๋องให้แน่น แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งถือผ้าชุบน้ำหมาดๆพร้อมกับจับเชือกป่าน แล้วรูดลงมาจากด้านบนลงล่างให้เป็นจังหวะ เสียงดัง “ เอ้ก อี เอ้ก เอ้ก” คล้ายเสียงไก่จะดังก้องมาจากกระป๋อง นี่แหล่ะครับ ของเล่นชิ้นนี้จึงได้ชื่อว่า “ ไก่กระป๋อง” นั่นเอง

สกา...วาร์ไรตี้

ย้อนไปเมื่อประมาณปี ค.ศ.1958 ยุคที่กระแสเพลงแนวร็อกแอนด์โรลล์ของ เอลวิส เพรสลีย์ กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงบนเกาะเล็กๆ ทางฝั่งตอนใต้ของอเมริกาอย่างเกาะจาไมกาด้วยเช่นกัน ชาวจาไมกานำแนวเพลงที่ได้รับอิทธิพลจากอเมริกา มาดัดแปลง ผสมกับดนตรีพื้นบ้านของเขา เพื่อให้สามารถสนุกไปด้วยได้ในสไตล์ของตัวเอง
แนวดนตรีใหม่ที่เรียกว่า ‘สกา’ (Ska) จึงกำเนิดขึ้น
สกา คือดนตรีที่มีพื้นฐานมาจาก Mento music ดนตรีพื้นบ้านของชาวจาไมกา โดยมีลายแพทเทิร์นหรือลายเบสที่ใกล้เคียงกับร็อคแอนด์โรลล์ จุดเด่นอยู่ที่ความเป็นดนตรีจังหวะ (Rhythm music) เพราะเน้นที่จังหวะยก ผู้ฟังจึงสามารถขยับร่างกายสนุกสนานตามจังหวะเพลงไปได้ตลอด และเมื่อบวกกับสีสันของเครื่องเป่าทองเหลืองต่างๆ ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เสน่ห์ของดนตรีแนวนี้ชัดเจนขึ้น
มื่อดนตรีแนวสกาเริ่มเป็นที่แพร่หลาย จึงมีผู้คิดค้นแนวเพลงใหม่ๆที่แตกออกไปอีก อาทิ Raggae, Rocksteady, Dub, Ska punk, Lovers Rock ฯลฯ ซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายและแตกต่างกันอยู่บ้างในรายละเอียดทางดนตรี แต่ก็ล้วนมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน
หลายๆ คนที่เป็นแฟนเพลงแนวสกาอยู่แล้วจะต้องคุ้นหูกับชื่อวงThe Skatalites อย่างแน่นอน เพราะเป็นวงสกาแท้ๆ จากจาไมก้า ที่มีชื่อเสียงมากตั้งแต่ยุคแรกๆ จนถึงปัจจุบัน หรือจะเป็น บ็อบ มาร์เลย์ (Bob Marley) เจ้าพ่อเพลงเรกเก้ที่ไม่ว่าใครฟังก็ต้องหลงรัก แต่ถ้าจะเอ่ยถึงวงสกาในเมืองไทย คงไม่มีใครไม่รู้จักทีโบน
“เริ่มแรก ผมเล่นดนตรีบลูส์มาก่อน แล้วก็ค่อยมาเป็นเรกเก้ สกา ส่วนใหญ่เป็นพวกดนตรีของคนผิวดำ เคยฟังครั้งแรกประมาณปี1980 ก็รู้สึกชอบ แล้วพอเป็นนักดนตรีก็เลยเล่นแนวนี้มาตลอด” แก๊ป-เจษฏา ธีระภินันท์ นักร้องนำวงทีโบน เล่าถึงดนตรีที่เขาชื่นชอบ
แม้ว่าในช่วงแรกๆ คนไทยอาจจะยังไม่คุ้นกับเพลงแนว เรกเก้-สกา เท่าไรนัก แต่ความคลั่งไคล้ในดนตรีแนวนี้ของเขาก็ยังเคยไม่ลดลงไป “ทุกอย่างครับที่ทำ ไม่มีใครฟังเท่าไร ไปเล่นแต่ละที่ก็คนน้อยมาก ไม่เหมือนตอนนี้ แต่ก็รู้สึกมันเป็นอย่างเดียวที่ทำได้ดีที่สุดครับ ผมว่าผมชอบมันจริงๆ แล้วก็ศึกษามันเยอะมาก แล้วก็...ไม่รู้สิ ผมมีอารมณ์กับดนตรีแบบนี้”
จนถึงตอนนี้ เพลงสกาดูจะเป็นที่รู้จักมากขึ้นในเมืองไทย เพราะมีศิลปินแนวนี้อยู่หลายวงแล้วเหมือนกัน เช่น วงไคโจ บราเธอร์ที่เป็นแนวเรกเก้ผสมกับโซลและฮิปฮอป, ส้ม อมรา กับแนวสกาวาไรตี้, วงสกาพั๊งค์หน้าใหม่อย่าง เท็ดดี้สกาแบนด์ และวงแนวร็อคสเตดี้-เรกเก้ร่วมสมัยอย่าง ศรีราชาร็อคเกอร์ ฯลฯ ก็ยิ่งช่วยยืนยันกระแสความนิยมที่กำลังเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี
“เรื่องความฮิต ความนิยมอาจจะเป็นกระแสโลก ผมว่าตอนนี้เพลงเรกเก้กับสกากำลังมา แต่เด็กไทยหลายคนที่ฟังสกา ส่วนใหญ่จะฟังมาจากสกาแบบคนขาว พวกสกาพั๊งค์มากกว่า” ดี้-โสธีระ ชัยฤทธิไชย นักร้องนำวงไคโจบราเธอร์ กล่าวถึงแนวเพลงสกาในตอนนี้


ฮิปปี้...คันทรี่มาแล้ว ^.^

Hippie
Hippie หรือ Hipster เป็นกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับค่านิยมทางการเมือง เชื่อมั่นในอิสรภาพแบบสุดขั้วโดยเฉพาะรูปแบบการใช้ชีวิตและทัศนคติที่มีต่อสังคม การเมือง และศาสนา


ตัวอย่างของฮิปปี้ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือการเกิดกลุ่มบุปผาชนหนุ่มสาวในประเทศสหรัฐอเมริกายุค 60’s-70’s แล้วขยายอิทธิพลเกิดกลุ่มชนฮิปปี้ขึ้นทั่วโลก ช่วงปี 60’s เป็๋นยุคที่เกิดการประเชิญหน้ากันอย่างตึงเครียดระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบประชาธิปไตย เกิดสงครามเวียดนาม เป็นทั้งยังเป็นยุคอันรุ่งโรจน์ของดนตรีร็อคอย่าง The Beatles, Elvis Presley, Jimi Hendrix หรือการกำเนิดของวงดนตรีระดับตำนานของฮิปปี้บุปผาชนอย่าง Grateful Dead ฮิปปี้ในยุคนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะเช่นแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าทำมือที่ปักสร้างลวดลายหรือย้อมสีเอง ฮิปปี้ทั้งชายและหญิงไม่ตัดผมแต่จะถักเปียหรือมัดผม ใช้เครื่องประดับอย่างลูกปัดหรือเชือกหนังถัก ฮิปปี้ยุคนั้นไม่นิยมรอยสัก แต่นิยมใช้สารเสพติดอย่างกัญชาหรือมาลีฮวนน่า รวมถึงการมีเซ็กส์เพื่อสำรวจขอบเขตของอิสรภาพแบบสุดขั้ว
ผมเกิดไม่ทันฮิปปี้ยุค 60’s นะครับ (แต่คาดว่าเพื่อนบล๊อกเกอร์โอเคเนชั่นหลายท่านคงทัน) ผมจำได้ว่าผมเคยเห็นรูปถ่ายของน้าชายที่เคยเป็นฮิปปี้ในสมัยนั้น ยังนึกไม่ออกจริงๆ ครับว่าแกยอมได้ไง
ในความเห็นของผม Hippie หรือ Hipster ไม่ได้สูญพันธุ์ลงที่ฮิปปี้ยุค 60’s ครับ ตราบเท่าที่โลกยังหมุนไป การเปลี่ยนแปลงในกระแสสังคม เศรษฐกิจ ดนตรี ความเชื่อ ฯลฯ ได้หล่อหลอมให้เกิดฮิปปี้ได้รุ่นต่อๆ มา จะเปลี่ยนไปก็แค่ชื่อเรียกฮิปปี้ในแต่ละยุค รวมถึงเสื้อผ้าหน้าผม และการแสดงออกต่อสาธารณะตามวิถีของกลุ่มฮิปปี้นั้นๆ ตัวอย่างเช่นยุคพั๊งค์, ยุค Break Dance, ยุคเด็กแร็พ, ยุค alternative, ยุคฮิปฮอป เป็นต้น

Yuppie
คำว่า Yuppie ย่อมาจาก Young Urban Professional ยัปปี้เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 20ปีจนถึงต้น 30 พวกยัปปี้ได้รับการศึกษาอย่างดี มีหน้าที่การงานมั่นคง และมีรายได้จากการทำงานที่งดงาม (จนถึงมั่งคั่ง) คนกลุ่มยัปปี้ใช้ชีวิตที่สะดวกสบายในเมือง เป็นชนชั้นวัตถุนิยมที่มีวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตแวดล้อมด้วย 4C อันได้แก่ 1) Condominium 2) Computer 3) Cell phone และ 4) Credit Card บ้านเรายัปปี้เพียบ โดยเฉพาะในกรุงเทพ
บางคนก็บอกว่ายัปปี้ครบสูตรมันต้อง 5C ซิ ไม่ใช่ 4C ต้องมี Car ด้วย อันนี้ต่างคนต่างมุมมองนะครับ บางคนบอกว่า C ตัวที่ 5 คือ Condom ด้วยซ้ำ แต่ผมว่าถ้าอยากจะเป็นยัปปี้แบบยั้งยืนครบสูตรละก็ ต้องมี Consciousness หรือสติเป็น C ตัวที่ 5 ไว้คอยคัดท้ายชีวิต

Zippie
ในช่วงปี 60’s โลกเราหมุนไปพร้อมกับพวกฮิปปี้ พอยุค 80’s การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสื่อสารและคอมพิวเตอร์ทำให้หลายคนกลายเป็นยัปปี้ จนมาถึงไม่กี่ปีที่ผ่านมาโลกก็ถูกวางกฎเกณฑ์ใหม่โดยพวกซิปปี้ คนกลุ่มนี้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการดำเนินชีวิตของโลกอย่างรวดเร็ว
ซิปปี้เป็นคนหนุ่มสาว (จะอยู่ในเมืองหรือนอกเมืองก็ได้) ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความกระตือรือร้นที่จะประสบความสำเร็จ คนพวกนี้อาจจะทำงานแล้วหรือกำลังศึกษาอยู่ก็ได้ แต่มีความใฝ่ฝันและความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้า เชื่อมั่นในตนเอง ชอบความท้าทาย มีความคิดสร้างสรรค์แหกกรอบ ชอบแสดงออก ไม่เก็บกด และจะไม่ปล่อยชีวิตให้ล่องลอยไปตามยถากรรม ซิปปี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเป็นเงินตราตอบแทน แต่ต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ รอบตัวเพื่อพิสูจน์หลักการใหม่ๆ ของตน ซิปปี้ชอบความเสี่ยงและไม่หวาดกลัวต่อสิ่งใด พวกซิปปี้ไม่ว่าจะมีเงินหรือถังแตกจะไม่ตระหนี่ถี่เหนียว

ไปเที่ยวๆ...ย้อนยุคกันเถอะ

เ พ ลิ น ว า น เยี่ยมชม “เพลินวาน” หมู่บ้านย้อนยุคมีชีวิต ชิมรสอาหาร-ขนมอร่อย เลือกซื้อเสื้อผ้า ดูหนังกลางแปลง สัมผัสบรรยากาศแห่งอดีตปี พ.ศ.2499

หัวหิน ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่พักผ่อน ของผู้มีฐานะดีในสมัยก่อน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงในยุคต่อมา ผู้คนมากมายมีความทรงจำดีๆ ต่อเมืองชายทะเลแห่งนี้การได้กลับมาเห็นภาพชีวิตเฉกเช่นในวันวานจึงเป็นสิ่งที่หลายคนถวิลหาวันนี้เมื่อกลุ่มคนที่หลงรักอดีตของหัวหินร่วมกันเนรมิตบ้านเรือน ร้านค้า ร้านกาแฟ ที่เคยอยู่ในภาพถ่ายให้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง
เพื่อให้เป็นจุดหมายใหม่ในการเดินทางสู่เมืองหัวหินในนามของ เพลินวาน ” ศูนย์รวมความสุข สถานที่ซึ่งหยุดเวลาในอดีตไว้ เพื่อเล่าขานเรื่องราวมากมายของวีถีหัวหินกาลก่อน สู่กาลปัจจุบัน”
จึงได้รับความสนใจไม่น้อยจากนักท่องเที่ยวเพลินวานมี ลักษณะคล้ายหมู่บ้านย้อนยุคที่มีชีวิต (Eco Vintage Village) ที่มีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านเสื้อผ้า ร้านขายขนม ร้านเหล้าในสมัยก่อน
รูปแบบของหมู่บ้านนี้จะร้านค้าที่ทำจากไม้ ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในช่วง พ.ศ.2499 อีกครั้ง เป็นสถานที่ที่เน้นการขายอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของที่ใช้ในการตกแต่ง
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของพนักงานซึ่งจะเป็นของที่ใช้จริงในสมัยนั้น แต่ที่โดดเด่นไม่เหมือนที่อื่นก็คือข้าวของที่นี่สามารถซื้อขายได้จริง ไม่ใช่แค่ตั้งโชว์เหมือนพิพิธภัณฑ์
คำว่าเพลินวาน มาจาก “Play and Learn ในวันวาน” ด้วยความปรารถนาให้ทุกคนมามีความสุขด้วยกัน มานึกถึงความรู้สึกดีๆในอดีต เรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิม ตามแนวคิดของ ภัทรา สหวัฒน์
จิ๊กโก๋เพลินวานผู้ที่พยายามทำฝันให้เป็นจริง“เชื่อว่าทุกคนจะมีความทรงจำในอดีต อยากให้มาที่นี่แล้วได้ย้อนไปนึกถึงเรื่องราวในวันเหล่านั้น อย่างน้อยๆ ก็ยิ้มได้ ในหนังกลางแปลงที่จะฉาย
หลายเรื่องก็ล้วนแต่มีฉากหลังเป็นหัวหินทั้งนั้น ร้านเสื้อที่เป็นแหล่งพบรักของหนุ่มสาวสมัยก่อนก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ อยู่ในความทรงจำของใครหลายต่อหลายคน”อีกสิ่งที่ภัทราพยายามทำให้เกิดขึ้นจริงในเพลินวานก็คือ..
การให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยในเพลินวานจะ เปิดโอกาสให้หาบเร่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้เข้ามาจับจองพื้นที่ค้าขาย เพื่อสนับสนุนให้คนท้องถิ่นมีพื้นที่ทำกิน ไม่ต้องคอยวิ่งหลบเจ้าหน้าที่เทศกิจ
แต่เพื่อให้อยู่ในคอนเซ็ปต์ ทางเพลินวานจึง ได้จัดอุปกรณ์สำหรับค้าขายไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นหรือหาบขายของเพื่อให้มีรูปแบบที่เป็นไปในทางเดียวกัน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้แก่เด็กๆและคนพิการ สามารถเข้ามาทำงานที่นี่
โดยทางร้านจะมีทางลาดและลิฟท์สำหรับรถเข็นผู้พิการ แม้ตัวอาคารจะเป็นเพียงแค่บ้าน 2 ชั้นเท่านั้นในส่วนของงานวัดซึ่งจะมีทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ นอกจากจะเน้นบรรยากาศแบบย้อนยุคแล้ว
ยังจะมีพื้นที่สำหรับเด็กนักเรียนเข้ามาขายของหารายได้พิเศษ ที่สำคัญเฟอร์นิเจอร์ที่นี่จะเป็นแบบ Green Board คือเป็นเฟอร์นิเจอร์ Recycle ทำจากกระดาษลังหรือกล่องนม ถือว่าเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติในอีกรูปแบบ


แม้ว่าตอนนี้เพลินวานจะ เปิดให้บริการเพียงแค่ส่วนเดียว แต่ภายในเดือนกันยายนนี้จะเปิดให้เข้าชมอย่างเต็มรูปแบบทั้งสามส่วนมีทั้งแฟชั่นเปรี้ยวๆในวันวานกับห้องเสื้อไฉไล, พักร้อนด้วยเพลินวานไอศกรีม, ของเล่นในสมัยวันวาน, กาแฟโบราณอันเลื่องชื่อของหัวหิน,ร้านข้าวอุ่น แกงร้อน อาหารเลื่องชื่อตำหรับหัวหิน, ร้านเหล้าเพลินวาน ที่มีทั้งสุราและยาดอง, สถานีจัดรายการ เพลินเพลง เพลินวาน
ที่จะเปิดเพลงในสมัยก่อนให้เพลิดเพลินตลอดวันนอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมที่จะมีการฉายหนังกลางแปลงในแบบฉบับงานวัด

สามารถเลือกซื้อเทปคาสเซทเพลงเพราะๆ ของวันวาน วิดีโอหนังรักวัยหวาน ใบปิดหนังดังรวมถึงดาราในดวงใจ พร้อมกับเก็บภาพมุมเก่าๆ ในเพลินวานไว้เป็นที่ระลึก

หรือจะแวะส่งโปสการ์ดหาเพื่อนที่ไม่ได้มาให้อิจฉาเล่นก็สามารถทำได้ ตกดึกใครอยากนอนหลับฝันดีสามารถเข้าพักที่ พิมานเพลินวาน ที่พักแนว Retro ได้อีกด้วยเรียกว่ามาที่เพลินวานแห่งนี้

อดีตอันงดงามจะย้อนกลับมาให้คุณได้หวนระลึกถึง เป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับการพักผ่อนในหัวหิน ร่วมกับครอบครัวหรือคนรัก ที่นี่เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 11.00-24.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด การเดินทางก็ไม่ยาก ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามพระราชวังไกลกังวล หมุดหมายที่ใครๆ ต่างรู้จักดี














วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลิ่นไอ ชิโน-โปรตุกีส

ภูเก็ตไม่ได้มีแค่หาดป่าตอง กะรน หรือแค่เพียงแหลมพรหมเทพ ใครที่เคยเฉียดผ่านเข้าไปในย่านตัวเมือง จะรู้สึกได้ถึงความแปลกตาของสถาปัตยกรรมของที่นี่ซึ่งไม่เหมือนใคร
ไม่ได้จบมาทางนี้ แต่ไปค้นข้อมูลได้ความว่า "แบบชิโน-โปรตุกีส (Sino Portuguese Style)" ที่เลื่องลือกันนั้นเป็นศิลปกรรมตึกเก่าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากปีนัง และสิงคโปร์ สองชุมชนหลักในคาบสมุทรมาลายาที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งจีนและฝรั่งอย่างเข้มข้นในสมัยก่อน


ห่างลงใต้ไปอีกสามสี่ร้อยกิโลเมตร ข้ามพรมแดนไป ผมเคยเห็นรูปแบบของอาคารเก่าแบบนี้ที่ปีนัง ในประเทศมาเลเซีย หรือถ้าไกลลงไปกว่านี้อีก ในย่านเมืองเก่าของสิงคโปร์ ที่ดังที่สุดของที่นั่นคงจะเป็นย่านผับ-ร้านอาหาร แถว Boat Quay ที่เป็นแถวอาคารเก่าสไตล์ฝรั่งปนจีน สวยกว่าตึกเก่าแถวถนนพระอาทิตย์บางลำพู และตั้งอยู่ริมน้ำพอดี ยามเย็นจะมีบรรยากาศพนักงานออฟฟิศจากย่านการเงิน ที่อยู่ใกล้เคียงกันมานั่งละเลียดเบียร์ดับอากาศร้อนเหงื่อแบบเส้นศูนย์สูตรของเมืองลอดช่อง

ผมเองสมัยเป็นเด็กต่างถิ่นที่ไปเติบโตมาในปัตตานี ก็เคยเห็นรูปแบบอาคารลักษณะนี้ หลายแห่งตามย่านตลาดเก่าในเมืองตานีเหมือนกัน เพียงแต่ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าเรียกว่าอะไร รู้แต่ว่าขลังดี แต่ว่าแถวตานี หรือสงขลาไม่ใหญ่เท่าหรือจับกลุ่มเป็นย่านเดียวกันเท่าที่ภูเก็ต

แดดกำลังจัด ผมเดินดุ่มกดชัตเตอร์ไปเรื่อยบนถนนถลาง สถานที่ซึ่งใช้จัดงานปิดถนนคนเดินแบบเดียวกับที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ วิวตึกที่อยู่ตรงหน้าสวยมาก ทั้งรูปทรง ลายปูนปั้น รายละเอียดเล็กๆ น้อย หรือแม้แต่ป้ายอาคาร แสงตกลงมาเสริมจุดเด่นของเรื่องราว
ตามหลักวิชาการแล้ว สถาปัตยกรรมแบบนี้เรียกว่า แบบคลาสสิค เรเนสซองส์ และนีโอคลาสสิค ของยุโรป กับศิลป แบบจีนผสมไทย ฟังดูแล้วอาจไม่ค่อยเข้าใจ แต่บอกง่าย ๆ ได้ว่า ฝรั่งปนจีน ข้างนอกตะวันตก ข้างในและรายละเอียดยิบย่อยเป็นแบบจีน คงพอมองเห็นภาพมากขึ้น

บ้านเมืองเก่าเหล่านี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยที่ภูเก็ตยังเป็นศูนย์กลางการค้าแร่ ยาง และของทะเล และยังเป็นเกาะบริสุทธิ์กลางอันดามัน ดูภาพเก่า ๆ แล้วชวนให้นึกถึงความหลังที่คงไม่มีวันหวนมาอีก
น่าเสียดายอย่างเดียวว่า ปัจจุบันสายไฟและสายโทรศัพท์ที่พาดยาวค่อนข้างเกะกะ และบังความงามของตึกเก่าไปมาก ได้ข่าวว่ามีหลายคนเริ่มมองเห็นประเด็นนี้แล้ว หวังว่าแผนที่จะย้ายสายไฟลงดินคงจะเป็นรูปเป็นร่างในไม่ช้า เหมือนในเมืองนอกหลายแห่งที่ใช้วิธีนี้ปรับปรุงทัศนียภาพแหล่งท่องเที่ยว

เรื่องแบบนี้อย่าพึ่งพาความช่วยเหลือจากส่วนกลางอย่างเดียวครับ ชุมชนต้องร่วมมือ จับกลุ่มสร้างพลังขึ้นมาในท้องถิ่นด้วยตัวเอง ความสำเร็จถึงอยู่คงทน ไม่ว่าจะเป็นที่ภูเก็ต ปีนัง หรือสิงคโปร์ เทียบชั้นฝีมืองานกับห้องแถวปากซอยแถวชานเมืองกรุงเทพฯ กันแล้ว จะเห็นความน่าเกลียดน่าชังของงานก่อสร้างห้องแถวในยุค 20-30 ปีหลังมานี้ ที่เป็นแค่ กล่องอิฐฉาบปูนคอนกรีตโผล่ขึ้นมาทื่อทมึนบดบังทัศนียภาพรอบข้าง โดยปราศจากความงามในตัวมันเองแม้แต่น้อยนิด
“รสนิยมมิใช่สิ่งที่จะซื้อหาด้วยเงินตราได้เสมอไป…” ใครซักคนเคยเอ่ยประโยคนี้ให้ฟัง หรือไม่ผมก็เคยอ่านมาจากไหนซักแห่ง อย่าให้ฝรั่งลงเครื่องบินแล้วดิ่งตรงไปที่หาดอย่างเดียวเลยครับ ในเมื่อเมืองเก่าภูเก็ตมีของดีในตัวอยู่แล้ว น่าจะหยิบมาปัดฝุ่นให้ดูกันต่อไป เพราะของเก่ามีเสน่ห์แบบนี้ใช่ว่าหากันได้ง่ายๆ มีเมืองท่องเที่ยวชายทะเลไม่กี่แห่งหรอกครับที่จะมีบรรยากาศดีๆ ให้ดูให้ชื่นชมแบบนี้

จุดเริ่มต้นของโฟล์คเต่า

จุดเริ่มต้นของโฟล์คเต่ามีขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-REICHSVERBAND DER DEUTSCHEN AUTOMOBILINDUSTRIE ได้มอบหมายให้ดร.เฟอร์ดินัน พอร์ชออกแบบรถยนต์ของประชาชน (PEOPLE’S CAR) ซึ่งในภาษาเยอรมันเรียกว่า VOLKSWAGEN นั่นเองโฟล์คเต่ารุ่นต้นแบบคันแรกเสร็จสิ้นการพัฒนาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 1936 มาพร้อมระบบช่วงล่างแบบทอร์ชันบาร์ ระบบเบรกเป็นแบบกลไกก้านบังคับ ไม่ใช่ระบบไฮดรอลิกเหมือนรถยนต์ปัจจุบัน และที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งยางแท่นเครื่อง ซี่งหลายคนมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดยางแท่นเครื่อง ตัวเครื่องยนต์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีให้เลือกทั้งแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ที่มีกำลังสูงสุด 22.5 แรงม้า (HP)ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 1936 รุ่นต้นแบบหรือ V3 (ซึ่งมีการผลิตออกมา 3 คัน) ถูกนำมาทดสอบด้วยการแล่นเป็นระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนมีการทดสอบต่อเนื่องภายใต้รหัสโครงการ VVW30 และหลังจากนั้นไม่นานคณะกรรมการก็เห็นชอบในเรื่องเครื่องยนต์ หลังจากถกเถียงกันอยู่นานก็มาลงตัวที่บล็อก 4 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ ระบายความร้อนด้วยอากาศอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาจะมีขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่กว่าที่โฟล์คเต่า จะได้รับการผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดต้องรอกันจนถึงเดือนธันวาคม 1945 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยในเดือนนั้นมีการผลิตออกมาเพียง 55 คันเท่านั้นในปี 1947 จึงมีการผลิตเวอร์ชั่นส่งออกในเดือนสิงหาคม โดยบริษัท PON BROTHERS กลายเป็นผู้แทนจำหน่ายของโฟล์คสวาเกนในเนเธอร์แลนด์และนำเข้าโฟล์คเต่าจำนวน 56 คัน เข้าไปทำตลาด จากนั้นอีก 1 ปี จึงเริ่มขยายตัวออกสู่ตลาดประเทศอื่น เช่น เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ม สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 8 มกราคม 1949รุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่ามีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 1949 โดยคาร์มานน์เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะในตลาดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกา ความจริงแล้วโครงการผลิตรุ่นเปิดประทุนของโฟล์คเต่ามีมาตั้งแต่ปี 1948 ในยุคที่มีไฮน์ริช นอร์ดฮอฟฟ์เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงงานโฟล์คสวาเกน ซึ่งเขาเป็นผู้ปรับปรุงระบบการผลิต และเป็นคนที่เอ่ยประโยคอมตะ “THE BEETLE HAS AS MANY FAULT AS A DOG HAS FLEAS” ที่แสดงให้เห็นถึงรอยรั่วของระบบการผลิต ซึ่งมีมากเหมือนกับหมัด-เห็บบนตัวสุนัขนอร์ดฮอฟฟ์ใช้เวลานานในการคิดหาทางออกเพื่อกระตุ้นให้ยอดจำหน่ายของโฟล์คเต่ามีมากขึ้นและในปี 1948 เขาได้ว่าจ้าง JOSEPH HEBMULLER COMPANY ผลิตรุ่นต้นแบบของโฟล์คเต่าเปิดประทุนออกมา 3 คัน โดยมีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนของรุ่นแฮทช์แบ็ก (หรือในเอกสารของโฟล์คสวาเกนเรียกว่า SEDAN) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้JOSEPH HEBMELLER ได้รับโอกาสในการผลิตโฟล์คเต่าเปิดประทุนในเวอร์ชั่นหรูพร้อมกับตกแต่งรายละเอียดภายในอย่างสุดบรรเจิด ซึ่งสวนกับหลักการพื้นฐานของตัวรถ ขณะที่คาร์มานได้รับงานผลิตแบบยกล็อตสำหรับคนทั่วไป ผลที่ได้คือตลอด 4 ปี ที่ทำตลาด เวอร์ชั่นเปิดประทุนของ JOSEPH HEBMULLER ผลิตขายได้เพียง 696 คัน เท่านั้นโฟล์คเต่ากลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ รถขายดีเหมือนแจกฟรี ในปี 1950 ทำยอดผลิตครบ 100,000 คัน และเพิ่มเป็น 250,000 คัน ในปี 1951 ซึ่งเป็นตัวเลขของยอดการผลิตพุ่งพรวดสวนทางกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาด จนทำให้ต้องหยุดการผลิต และลดชั่วโมงทำงานลงชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นในปี 1952 ยอดผลิตต่อปีของโฟล์คเต่าก็เกิน 100,000 คันเป็นครั้งแรก และในปี 1953 ก็ฉลองครบ 5 แสน คัน โดยที่ในช่วงเวลานั้น โฟล์คเต่าครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งของเยอรมันตะวันตกใน(ตอนนั้น) ถึง 42.5%ในปี 1955 ตัวเลขการผลิตครบ 1ล้านคัน และในปี 1967 ฉลองการผลิตครบ 10 ล้านคัน โดยมีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่งในเยอรมนี คือ เมืองฮันโนเวอร์ คาสเซล บรันสวิค เอมเดน และล่าสุดคือโวล์ฟบวร์กวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1972 เป็นวันที่ปวงชนชาวโฟล์คสวาเกนไม่มีวันลืม เพราะยอดการผลิตของโฟล์คเต่าอยู่ที่ 15,007,034 คัน ซึ่งเท่ากับว่าสามารถแซงหน้า สถิติเดิมของ ฟอร์ด โมเดล ทีได้สำเร็จ ทำให้โฟล์คเต่ากลายเป็นรถยนต์ที่มียอดผลิตสูงสุดในโลก (ก่อนที่จะโดนรุ่นกอล์ฟแซงในปี 2002) จุดสิ้นสุดแห่งยุคโฟล์คเต่าสำหรับตลาดยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อโฟล์คสวาเกนเปิดตัวรถยนต์รุ่นกอล์ฟออกมา ซึ่งทำให้ลูกค้าในยุโรปเริ่มหันไปสนใจกับผู้มาใหม่รุ่นนี้กันมากขึ้น จนทำให้โฟล์คสวาเกนตัดสินใจยุติการผลิตของโรงงานโวล์ฟบวร์ก ในปี 1974 และเอมเดนในปี 1978 โดยโฟล์คเต่าคันสุดท้ายที่ผลิตในเอมเดนเมื่อวันที่ 19 มกราคม ถูกส่งเข้าไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เมืองโวล์ฟบวร์กส่วนรุ่นเปิดประทุนคันสุดท้ายออกจากสายการผลิตของโรงงานคาร์มานน์ในออสนาบรักเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1979 รวมแล้วรุ่นเปิดประทุนถูกผลิตออกสู่ตลาด 330,281 คัน แม้ว่าในยุโรปจะเลิก แต่โรงงานในเม็กซิโกที่เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1965 ก็ยังทำหน้าที่ผลิตต่อไปและวันที่ 15 พฤษภาคม 1981 ฉลองการผลิตครบ 20 ล้านคันที่โรงงานแห่งนี้ อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 กรกฎาคม 2003 ถือเป็นอีกวันที่บีทเทิลมาเนียต้องจดจำเพราะว่าจะเป็นวันสุดท้ายของการผลิตโฟล์คเต่าที่โรงงานในเมือง PUEBLA เม็กซิโก ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวที่ยังผลิตอยู่แต่ก่อนที่จะจากกันโฟล์คสวาเกนก็ผลิตเวอร์ชันพิเศษออกมาเรียกเงินในกระเป๋าลูกค้าด้วยเวอร์ชันULTIMA EDICION กับสีตัวถัง 2 แบบ คือ เบจและฟ้า ด้วยจำนวนการผลิตจำกัดเพียง 3,000 คัน เท่านั้น








วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เมื่อกำเนิด...เพลงอินดี้


ก่อนยุคอินดี้บูมครั้งแรกในปี 2537 ค่ายเพลงไทยสากลโดยรวม เน้นแนวกลางๆ ฟังง่ายๆ เหตุผลหนึ่งคือต้นทุนการผลิตเพลงสมัยนั้นสูงมาก ค่าเช่าห้องบันทึกเสียงและอุปกรณ์ราคาแพง การผลิตเพลงจึงเป็นของค่ายเพลงใหญ่ ซึ่งมีการกำหนดแนวเพลง ให้กับศิลปินนักร้อง

เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้า ต้นทุนการผลิตเพลงถูกลง จึงเป็นโอกาสให้กับค่ายเพลงใหม่ๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนเล็ก ที่มีความรักเสียงเพลง แต่ไม่มีเงินทุน สามารถคิด และสร้างสรรค์งานเพลง แตกต่างกับกระแสหลักมากขึ้น กลายเป็นทางเลือกใหม่ ด้วยความเบื่อหน่ายในเพลงกระแสหลักที่สะสมไว้มานาน ความนิยมของผู้ฟังจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ศิลปินนักร้องผู้มีความรู้ความสามารถทางดนตรีใน “แนว” ที่ตนถนัด จึงเริ่มมีสิทธิมีเสียงขึ้นมา พัฒนาไปจนถึงการเป็นเจ้าของค่ายเพลงเล็กๆ

รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของค่ายเพลงอินดี้ ที่โลดแล่นอยู่กับคลื่นลมเหล่านี้มาตั้งแต่ต้น เขาเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งและเป็นมือเบสวง “Crub” ออกอัลบั้มชุด “View” ในปี 2537 บุกเบิกแนวเพลง brit-pop ของอังกฤษในไทย จนมาเป็นฐานะเจ้าของค่ายต้นสังกัดของวง “สี่เต่าเธอ” ที่โด่งดังในยุคอินดี้บูมครั้งแรก

ต่อมารุ่งโรจน์ก่อตั้งบริษัท Small Room ในปี 2542 มุ่งงานรับทำเพลงโฆษณา แตกมาเป็นเพลงขายเป็นอัลบั้มตามร้านทั่วไป เช่นวง Armchair ซึ่งบางเพลงได้รับคัดเลือกไปวางจำหน่ายในระดับนานาชาติ รวมถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น “เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล” ของ เป็นเอก รัตนเรืองนขณะที่ค่ายเพลงใหญ่ๆ สร้างระบบการทำงาน โดยแยกบทบาทชัดเจนระหว่างรูปแบบ ศิลปินเดี่ยว วง นักดนตรี นักแต่งเพลง รูปแบบอินดี้ได้เข้ามาทำให้การแบ่งแยกเหล่านี้น้อยลง แต่ดูจะไม่เคยมีครั้งใดที่บทบาทเหล่านี้จะถูกหลอมรวมเข้าหากัน เท่ากับที่ Monotone Group ทำอยู่ Monotone Group เกิดขึ้นจากการที่กลุ่มคนทำเพลงเป็นงานอดิเรกส่งขึ้นโชว์ตามเว็บไซต์ บ้างก็เพิ่งจบปริญญาตรี บ้างก็กำลังเรียนอยู่ ได้มาพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต นำมาซึ่งการนัดเจอและแนะนำเพื่อนต่อกันไปจนรวมกันเป็นกลุ่มนักดนตรีที่ทำด้วยใจรัก โดยไม่มีใครเป็นนักดนตรีอาชีพ และไม่มีใครเรียนจบด้านดนตรี Monotone Group เริ่มมีชื่อเสียงจากการออกอัลบั้ม “This Is Not A Love Song” ในปี 2545 ซึ่งมีผู้มีส่วนร่วมนับสิบๆ คน เสมือน “ชมรมดนตรี” ที่ผลิตงานเพลงมาขึ้นอันดับความนิยมในสถานีวิทยุได้ ย้อนกลับไปตั้งแต่หลังความสำเร็จในชุดแรกได้ไม่นาน Monotone Group ได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ Be Quiet ขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือในการรับงานต่างๆ ส่วนการจัดจำหน่ายเพลงก็มอบให้ ค่าย Blacksheep ภายใต้บริษัท Sony Music BEC Tero ดูแล